เทศบาลตําบลแม่คํา อ.แม่จัน จ.เชียงราย

MAEKHAM MUNICIPALITY




แผนพัฒนา

- แผนพัฒนาท้องถิ่น ( พ.ศ. 2561 - 2565 )
- แผนอัตรากำลัง 3 ปี
- แผนยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาหน่วยงาน
- การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ
- แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 1/2565 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 2/2565 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 3/2565 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 4/2565 - แผนพัฒนาท้องถิ่น ( พ.ศ. 2566 - 2570 ) แก้ไข ครั้งที่ 5/2565 - แผนพัฒนาท้องถิ่น ( พ.ศ. 2566 - 2570 ) แก้ไข ครั้งที่ 1/2566 - แผนพัฒนาท้องถิ่น ( พ.ศ. 2566 - 2570 ) แก้ไข ครั้งที่ 2/2566 - แผนพัฒนาท้องถิ่น ( พ.ศ. 2566 - 2570 ) แก้ไข ครั้งที่ 3/2566 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 4/2566 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 5/2566 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 6/2566 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 7/2566 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 8/2566 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 9/2566 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 10/2566 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 11/2566 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 12/2566 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 1/2567 - แผนการพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 -2570) แก้ไข ครั้งที่ 2/2567 - แผนพัฒนาท้องถิ่น(พ.ศ. 2566-2570) แก้ไข ครั้งที่ 4/2567
- แผนบริหารจัดการความเสี่ยง

งานเอกสารและข้อมูลบริการประชาชน

- มาตรส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2566
- นโยบายกำกับดูแลองค์การที่ดี
- IIT ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน
- คำสั่งเกี่ยวกับงานบริหารบุคคล
- รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
- รายงานการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
- ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ
- การประเมินความเสี่ยงการทุจริต (ประเด็นสินบน)

การร้องเรียนและการประเมิน

- Q&A
- ร้องเรียน - ร้องทุกข์
- ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- ช่องทางการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน
- ประเมินความพึงพอใจในการให้บริการสาธารณะเทศบาลตำบลแม่คำ ( อำเภอแม่จัน )
- แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ

รายงานทางการเงิน

- รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมาณประจำปี 2566
- รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมาณประจำปี รอบ6 เดือน 2566
- รายงานงบการเงินพร้อมผลการตรวจสอบของสำนักตรวจเงินแผ่นดิน สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2566

งานพัสดุ

- ผลการตรวจสอบพัสดุ ประจำปี 2566
- ประกาศต่างๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือจัดหาพัสดุ

ความเป็นมา

ประกาศเมื่อ 07 ธันวาคม 2565, เปิดอ่าน 7279 ครั้ง < ย้อนกลับ

  • ประวัติความเป็นมา

 

ประวัติเทศบาลตำบลแม่คำ ในอดีตตำบลแม่คำมีพื้นที่กว้างใหญ่มาก อาณาเขตด้านทิศเหนือติดกับตำบลห้วยไคร้อำเภอแม่สาย ด้านทิศตะวันตกเป็นเขตพื้นที่ภูเขาสูง ตามแนวสองฝั่งของแม่น้ำคำ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง เช่นบ้านเทอดไทย และบ้านห้วยผึ้ง เป็นต้น  ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๗ บ้านแม่คำสบเปิน หมู่ที่ ๑ บ้านแม่คำตลาด หมู่ที่ ๒ บ้านแม่คำบ้านใหม่ หมู่ที่ ๑๑ และบ้านแม่คำหลังวัด หมู่ที่ ๑๔ รวม ๔ หมู่บ้าน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีความเจริญมากกว่าหมู่บ้านอื่นๆ เพราะในชุมชนมีโรงเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ตลาดสด สถานีอนามัย     ตู้ยามตำรวจ โรงสีข้าวขนาดใหญ่ โรงภาพยนตร์ และมีถนนพหลโยธินผ่านในพื้นที่ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นสุขาภิบาลแม่คำ พ.ศ. ๒๕๑๗ เมื่อประชากรในตำบลแม่คำมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทางราชการจึงได้แบ่งพื้นที่ของตำบลแม่คำออกไปเป็นตำบลแม่ไร่อีกหนึ่งตำบล ทำให้พื้นที่ของสุขาภิบาลแม่คำ ตั้งอยู่ส่วนกลางของตำบลแม่คำ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เป็นพื้นที่ของหมู่บ้านอื่นๆ ในส่วนที่เหลือของตำบลแม่คำมีการเปลี่ยนแปลงเลขหมายของหมู่บ้านขึ้นใหม่ บ้านหมู่ที่ ๑๑ เปลี่ยนเป็นหมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๑๔ เปลี่ยนเป็นหมู่ที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๓๐ เมื่อมีการตั้งกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวงขึ้น ได้มีการแยกหมู่บ้านในตำบลแม่คำที่อยู่ในเขตภูเขาสูงให้ไปอยู่ในกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง ทำให้ตำบลแม่คำมีหมู่บ้านเหลืออยู่ทั้งหมดจำนวน ๑๑ หมู่บ้าน
ต่อมาวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ บ้านแม่คำตลาด หมู่ที่ ๒ ฟากทิศตะวันออกของถนนพหลโยธินได้แยกออกไปตั้งเป็นหมู่บ้านแม่คำบ้านทุ่ง หมู่ที่ ๑๒ ทำให้สุขาภิบาลแม่คำมีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นมาเป็น ๕ หมู่บ้าน หลังจากนั้นไม่นานบ้านม่วงคำ หมู่ที่ ๑๑ ก็ทำการแบ่งหมู่บ้านแยกออกไปเป็นบ้านม่วงคำใหม่ หมู่ที่ ๑๓ อีกหนึ่งหมู่บ้าน ทำให้ตำบลแม่คำมีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นมาเป็นทั้งหมด ๑๓ หมู่บ้าน
ในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๑๕๔๒ สุขาภิบาลแม่คำ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลแม่คำ มีหมู่บ้านในเขตเทศบาล จำนวน ๕ หมู่บ้าน อาคารสำนักงานตั้งอยู่ที่บ้านแม่คำหลังวัด หมู่ที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๙ บ้านแม่คำสบเปิน หมู่ที่ ๑ ได้ทำการแยกหมู่บ้านออกไปเป็นบ้านแม่เปิน หมู่ที่ ๑๔ อีกหนึ่งหมู่บ้าน ทำให้เทศบาลตำบลแม่คำมีหมู่บ้านในเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นมาเป็น ๖ หมู่บ้านดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ในพ.ศ.๒๕๕๐ เมื่อภารกิจในอำนาจหน้าที่ และบุคลากรของเทศบาลตำบลแม่คำมีมากขึ้นสำนักงานที่ทำการหลังเก่ามีสภาพคับแคบ ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรและการให้บริการประชาชน เทศบาลตำบลแม่คำ จึงได้ทำการกู้เงินจากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาลแห่งประเทศไทย จำนวน ๑๒,๐๘๒,๐๐๐ บาท มาสร้างอาคารสำนักงานหลังปัจจุบัน

ในพื้นที่ของบ้านแม่คำสบเปิน หมู่ที่ ๑ ส่วนอาคารสำนักงานหลังเก่า ได้ใช้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาล

พ.ศ. ๒๕๕๒ เทศบาลตำบลแม่คำ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษาของเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น จึงได้ทำการรับโอนโรงเรียนบ้านแม่คำสบเปิน มาเป็นโรงเรียนในสังกัดของเทศบาล แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่คำ ( แม่คำสบเปินราษฎร์นุกูล )

เนื่องจากเทศบาลตำบลแม่คำ ยกฐานะขึ้นมาจากการเป็นสุขาภิบาล มีหมู่บ้านในเขตเทศบาลจำนวน ๖ หมู่บ้านจากจำนวนทั้งหมด ๑๔ หมู่บ้านของตำบลแม่คำ หมู่บ้านอื่นๆ ที่เหลืออยู่นั้น เดิมนั้นอยู่ในรูปแบบของการปกครองแบบสภาตำบล แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสุดท้ายก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลทำให้ปัจจุบันตำบลแม่คำจึงประกอบไปด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในรูปแบบของเทศบาลตำบล จำนวน ๒ แห่งคือ ๑. เทศบาลตำบลแม่คำ  ๒. เทศบาลตำบลสายน้ำคำ

 

เขตการปกครอง เทศบาลตำบลแม่คำประกอบไปด้วยพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งหมด จำนวน ๖ หมู่บ้าน ดังนี้

 

   ลำดับที่ หมู่บ้าน หมู่ที่
๑.  บ้านแม่คำสบเปิน
๒.  บ้านแม่คำตลาด
๓.  บ้านแม่คำบ้านใหม่
๔.  บ้านแม่คำหลังวัด ๑๐
๕.  บ้านแม่คำบ้านทุ่ง ๑๒
๖.  บ้านแม่เปิน ๑๔

 

เขตการปกครอง

ด้านเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ริมเหมืองห้วยไร่ฝั่งใต้ ห่างจากศูนย์กลางถนนพหลโยธินถึง หลักเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งห่างจากศูนย์กลางถนนพหลโยธิน ตามแนวลำเหมือง ๖๐๐ เมตร

ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ ๒ เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำคำฝั่งเหนือ ห่างจากศูนย์กลางถนนพหลโยธินตามลำน้ำคำ ๘๓๐ เมตร

ด้านใต้ จากหลักเขตที่ ๓ เลียบตามแม่น้ำคำฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันตกถึงหลักเขตที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่ ตรงเส้นแบ่งเขต หมู่ที่ ๑๔ กับหมู่ที่ ๗ ตำบลแม่คำ

ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ ๔ ถือตามเส้นแบ่งเขตหมู่ที่ ๑๔ กับหมู่ที่ ๗ ตำบลแม่คำไปทางทิศเหนือ ถึง หลักเขตที่ ๕ ซึ่งตั้งอยู่ริมเหมืองหลวงฝั่งเหนือ จากหลักเขตที่ ๕ เป็นเส้นตรงไปทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บรรจบหลักเขตที่ ๑

ระยะทางจากกรุงเทพมหานคร ห่างจากเทศบาลตำบลแม่คำ ประมาณ ๘๖๐ กิโลเมตร

ระยะทางจากจังหวัดใกล้เคียง จังหวัดพะเยา ห่างจากเทศบาลตำบลแม่คำ ประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร

 

ภาพภูมิอากาศ

ฤดูร้อน เริ่มเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน อุณหภูมิประมาณ ๓๒ องศา
ฤดูฝน เริ่มเดือน พฤษภาคม – กันยายน ฝนตกชุก และ มีน้ำท่วมเป็นบางพื้นที่น้ำฝนโดยประมาณ ๑๕๗.๔๓ มิลลิลิตร
ฤดูหนาว เริ่มเดือน ตุลาคม – มกราคม อุณหภูมิประมาณ ๑๐ องศา

 

สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

ลักษณะในชุมชนท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบลแม่คำอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหนาแน่นทางด้านใต้และตามแนวลำน้ำคำฝั่งเหนือ โดยมีการขยายการตั้งถิ่นฐานออกไปตามบริเวณสองข้างทางตามโครงสร้างการคมนาค- การประกอบอาชีพ มีการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ในงานประเภทเกษตรกรรม อาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย อุตสาหกรรมในครัวเรือน และยังประกอบอาชีพอื่นควบคู่กันไปด้วย

 

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคม

การคมนาคมของเทศบาลตำบลแม่คำใช้การคมนาคมทางบก โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านเขตชุมชนเทศบาลตำบลแม่คำ หมู่ที่ ๒, ๘, ๑๒ เป็นถนนสายหลักในการเดินทางไปอำเภอแม่สาย ส่วนการคมนาคมในเขตเทศบาลตำบลแม่คำและหมู่บ้านใกล้เคียงใช้ถนนสายหลักของเทศบาล ๒ สาย คือ

สายที่ ๑ แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ที่ระหว่าง ก.ม.ที่ ๘๗๖ กับ ก.ม.ที่ ๘๖๘ บริเวณหน้าตลาดสดแม่คำ หมู่ที่ ๒ ขนาดถนนกว้างโดยเฉลี่ย ๖.๐๐ เมตร ยาวประมาณ ๒.๕๐ กิโลเมตร จนสิ้นสุดเขตเทศบาลตำบลแม่คำที่บ้านแม่เปิน หมู่ที่ ๑๔ ตำบลแม่คำ

สายที่ ๒ ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ระหว่าง กม.ที่ ๘๖๗ กับ กม.ที่ ๘๖๘ บริเวณสี่แยก บ้านแม่คำบ้านใหม่ หมู่ที่ ๘ ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ขนาดถนน กว้างเฉลี่ย ๖.๐๐ เมตร ยาว ๑.๕๐

กิโลเมตรจนสิ้นสุดเขตเทศบาลที่บ้านแม่คำบ้านใหม่

การไฟฟ้า 

มีไฟฟ้าเข้าถึงและให้บริการแก่ประชาชนครบทุกหลังคาเรือน

 

การประปา 

มีระบบประปาหมู่บ้านครบจำนวน ๖ หมู่บ้าน

 

การสื่อสารและโทรคมนาคม

- ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน ๑ แห่ง
- ชุมสายโทรศัพท์ จำนวน ๑ แห่ง
- จำนวนครัวเรือนที่ใช้โทรศัพท์ ๘๒๖ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๗๑
- จำนวนที่ใช้โทรทัศน์ ๑,๖๓๐ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๒๐
- ที่ตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน ๒ แห่ง

ระบบการสื่อสารโทรทัศน์ – วิทยุ ในเขตเทศบาลตำบลแม่คำ มีระบบสื่อสารที่ดีมาก/มากที่สุด

 

การจราจร

สภาพการจราจรในเขตเทศบาลตำบลแม่คำ ส่วนมากจะอยู่ในสภาพคล่องตัวจะมีปัญหาการจราจรหนาแน่นในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนตอนเช้าช่วงโรงเรียนเข้าและช่วงโรงเรียนเลิก เพราะโรงเรียนบ้านแม่คำตั้งอยู่ติดกับถนนพหลโยธิน

 

การเกษตรกรรม

ลักษณะการประกอบอาชีพในเขตเทศบาลตำบลแม่คำ ส่วนมากจะประกอบอาชีพทำการเกษตร ทำนา และพืชผักสวนผสม เป็นต้น

 

การอุตสาหกรรม

การประกอบอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลตำบลแม่คำ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ใช้วัตถุดิบทางการเกษตรเป็นสำคัญ ได้แก่ โรงสีข้าว และ มีการทอผ้าพื้นเมืองในบางชุมชน
- โรงสีข้าว จำนวน ๑ โรง
- โรงบ่มใบยาสูบ จำนวน ๕ โรง
- อุตสาหกรรมขนาดเล็กผลิตท่อและซีเมนต์บล็อก จำนวน ๑ แห่ง

การพานิชกรรม

แหล่งพานิชกรรมทางด้านอุปโภค – บริโภคที่สำคัญของประชาชนในเขตเทศบาล
- ตลาดในเขตอำเภอแม่จัน
- ตลาดสดแม่คำ(เอกชน) ลักษณะตลาดเช้า
ผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่เกษตรกรจะจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางที่เข้ามาตั้งจุดซื้อสินค้าในเขตท้องที่

 

การท่องเที่ยว

เทศบาลตำบลแม่คำ เป็นทางผ่านสู่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเชียงราย คือ พระธาตุดอยตุง พระตำหนักดอยตุง , พรมแดนไทย – พม่า ที่อำเภอแม่สาย และ ถ้ำป่าอาชาทอง (พระขี่ม้าบิณฑบาต)
การปศุสัตว์

ลักษณะการประกอบการปศุสัตว์ในท้องที่เขตเทศบาลตำบลแม่คำส่วนใหญ่ประกอบการลักษณะในครัวเรือนแบบยังชีพ

ลักษณะอาณาบริเวณชุมชนในเขตเทศบาลตำบลแม่คำ จะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหนาแน่นทางด้านทิศใต้เลียบตามลำน้ำคำฝั่งเหนือ มีการขยายการตั้งถิ่นฐานออกไปตามบริเวณสองข้างทางตามโครงสร้างเส้นทางการคมนาคม

การศึกษา ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม

 

การศึกษา

มีสถาบันการศึกษาให้บริการแก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลแม่คำ จำนวน ๔ แห่ง
- โรงเรียนบ้านแม่คำ(ประชานุเคราะห์) ให้บริการด้านการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น (โรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา)
- โรงเรียนวัดแม่คำวิทยา (โรงเรียนสงฆ์)
- โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่คำ (แม่คำสบเปินราษฎร์นุกูล)
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่คำ

 

ศาสนา

มีศาสนาสถานทางพุทธศาสนา จำนวน ๓ แห่ง คือ
- วัดแม่คำสบเปิน หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่คำ
- วัดแม่คำ หมู่ที่ ๒ ตำบลแม่คำ
- วัดโชติการาม หมู่ที่ ๘ ตำบลแม่คำ
ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมพื้นเมืองแบบล้านนา

 

การสาธารณสุข
- มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ตำบลแม่คำให้บริการประชาชน จำนวน ๑ แห่ง
- สถานพยาบาล จำนวน ๓ แห่ง

 

ด้านการเมือง – บริหาร

เทศบาลตำบลแม่คำ เป็นเทศบาลขนาดเล็ก มีสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน ๑๒ คน และมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล การแบ่งส่วนราชการ แบ่งออกเป็น ๕ กอง คือ สำนักปลัดเทศบาล กองคลัง กองการศึกษา กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองช่าง และ ๑ หน่วยตรวจสอบภายใน

ประมาณการรายรับ – รายจ่าย ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
-ประมาณการรายรับ เป็นเงิน ๕๓,๑๔๕,๘๐๐.- บาท
-ประมาณการรายจ่าย เป็นเงิน ๕๓,๑๔๕,๗๘๔.- บาท

 

การดำเนินการพาณิชย์
เทศบาลตำบลแม่คำ มีเขตพื้นที่ชุมชนขนาดเล็กประกอบกับเป็นพื้นที่ตั้งอยู่ใกล้อำเภอแม่จัน ดังนั้น เทศบาลตำบลแม่คำจึงไม่มีการดำเนินการพาณิชย์และสถานที่ตั้งของสถาบันทางการเงิน
บทบาท/การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมทางการเมืองและการบริหาร
เทศบาลตำบลแม่คำ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งประชาชนได้มีส่วนร่วมในรูปกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลแม่คำ โดยทำการรณรงค์การใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ การทำเวทีประชาคมท้องถิ่น และการเข้ารับฟังการประชุมสภา ฯ

 

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สภาวะแวดล้อมในพื้นที่เขตเทศบาล สภาพที่อยู่อาศัยในชุมชนไม่แออัด แต่ละหมู่บ้านจะอยู่ห่างกัน อากาศดีเนื่องจากสภาพสิ่งแวดล้อมอำนวยให้อากาศดี คือ ไม่มีการประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในเขตเทศบาล

 

มลพิษทางน้ำ

ลำน้ำที่ไหลผ่านเทศบาลคือลำน้ำคำ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มาตามธรรมชาติ ซึ่งปริมาณลดลงจากอดีต ลำน้ำตื้นเขินเกิดจากการทับถมของทราย แต่ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยที่ประชาชนทิ้งขยะลงแม่น้ำ ทำให้ขยะเน่าเสียและอุดตันทางน้ำ

สภาพภูมิอากาศ

ฤดูร้อน เริ่มเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน อุณหภูมิประมาณ ๓๒ องศา
ฤดูฝน เริ่มเดือน พฤษภาคม – กันยายน ฝนตกชุก และ มีน้ำท่วมเป็นบางพื้นที่น้ำฝนโดยประมาณ ๑๕๗.๔๓ มิลลิลิตร
ฤดูหนาว เริ่มเดือน ตุลาคม – มกราคม อุณหภูมิประมาณ ๑๐ องศา

 

สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

ลักษณะในชุมชนท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบลแม่คำอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหนาแน่นทางด้านใต้และตามแนวลำน้ำคำฝั่งเหนือ โดยมีการขยายการตั้งถิ่นฐานออกไปตามบริเวณสองข้างทางตามโครงสร้างการคมนาค- การประกอบอาชีพ มีการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ในงานประเภทเกษตรกรรม อาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย อุตสาหกรรมในครัวเรือน และยังประกอบอาชีพอื่นควบคู่กันไปด้วย

 

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคม

การคมนาคมของเทศบาลตำบลแม่คำใช้การคมนาคมทางบก โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ผ่านเขตชุมชนเทศบาลตำบลแม่คำ หมู่ที่ ๒, ๘, ๑๒ เป็นถนนสายหลักในการเดินทางไปอำเภอแม่สาย ส่วนการคมนาคมในเขตเทศบาลตำบลแม่คำและหมู่บ้านใกล้เคียงใช้ถนนสายหลักของเทศบาล ๒ สาย คือ

สายที่ ๑ แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ที่ระหว่าง ก.ม.ที่ ๘๖๗ กับ ก.ม.ที่ ๘๖๘ บริเวณหน้าตลาดสดแม่คำ หมู่ที่ ๒ ขนาดถนนกว้างโดยเฉลี่ย ๖.๐๐ เมตร ยาวประมาณ ๒.๕๐ กิโลเมตร จนสิ้นสุดเขตเทศบาลตำบลแม่คำที่บ้านแม่เปิน หมู่ที่ ๑๔ ตำบลแม่คำ

สายที่ ๒ ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ระหว่าง กม.ที่ ๘๖๗ กับ กม.ที่ ๘๖๘ บริเวณสี่แยก บ้านแม่คำบ้านใหม่ หมู่ที่ ๘ ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ขนาดถนน กว้างเฉลี่ย ๖.๐๐ เมตร ยาว ๑.๕๐ กิโลเมตรจนสิ้นสุดเขตเทศบาลที่บ้านแม่คำบ้านใหม่

การไฟฟ้า 

มีไฟฟ้าเข้าถึงและให้บริการแก่ประชาชนครบทุกหลังคาเรือน

 

การประปา 

มีระบบประปาหมู่บ้านครบจำนวน ๖ หมู่บ้าน

 

การสื่อสารและโทรคมนาคม

- ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน ๑ แห่ง
- ชุมสายโทรศัพท์ จำนวน ๑ แห่ง
- จำนวนครัวเรือนที่ใช้โทรศัพท์ ๘๒๖ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๗๑
- จำนวนที่ใช้โทรทัศน์ ๑,๖๓๐ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๒๐
- ที่ตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน ๒ แห่ง

ระบบการสื่อสารโทรทัศน์ – วิทยุ ในเขตเทศบาลตำบลแม่คำ มีระบบสื่อสารที่ดีมาก/มากที่สุด

 

การจราจร

สภาพการจราจรในเขตเทศบาลตำบลแม่คำ ส่วนมากจะอยู่ในสภาพคล่องตัวจะมีปัญหาการจราจรหนาแน่นในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนตอนเช้าช่วงโรงเรียนเข้าและช่วงโรงเรียนเลิก เพราะโรงเรียนบ้านแม่คำตั้งอยู่ติดกับถนนพหลโยธิน

 

การเกษตรกรรม

ลักษณะการประกอบอาชีพในเขตเทศบาลตำบลแม่คำ ส่วนมากจะประกอบอาชีพทำการเกษตร ทำนา และพืชผักสวนผสม เป็นต้น

 

การอุตสาหกรรม

การประกอบอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลตำบลแม่คำ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ใช้วัตถุดิบทางการเกษตรเป็นสำคัญ ได้แก่ โรงสีข้าว และ มีการทอผ้าพื้นเมืองในบางชุมชน
- โรงสีข้าว จำนวน ๑ โรง
- โรงบ่มใบยาสูบ จำนวน ๕ โรง
- อุตสาหกรรมขนาดเล็กผลิตท่อและซีเมนต์บล็อก จำนวน ๑ แห่ง

การพานิชกรรม

แหล่งพานิชกรรมทางด้านอุปโภค – บริโภคที่สำคัญของประชาชนในเขตเทศบาล
- ตลาดในเขตอำเภอแม่จัน
- ตลาดสดแม่คำ(เอกชน) ลักษณะตลาดเช้า
ผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่เกษตรกรจะจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางที่เข้ามาตั้งจุดซื้อสินค้าในเขตท้องที่

 

การท่องเที่ยว

เทศบาลตำบลแม่คำ เป็นทางผ่านสู่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเชียงราย คือ พระธาตุดอยตุง พระตำหนักดอยตุง , พรมแดนไทย – พม่า ที่อำเภอแม่สาย และ ถ้ำป่าอาชาทอง (พระขี่ม้าบิณฑบาต)
การปศุสัตว์

ลักษณะการประกอบการปศุสัตว์ในท้องที่เขตเทศบาลตำบลแม่คำส่วนใหญ่ประกอบการลักษณะในครัวเรือนแบบยังชีพ

ลักษณะอาณาบริเวณชุมชนในเขตเทศบาลตำบลแม่คำ จะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหนาแน่นทางด้านทิศใต้เลียบตามลำน้ำคำฝั่งเหนือ มีการขยายการตั้งถิ่นฐานออกไปตามบริเวณสองข้างทางตามโครงสร้างเส้นทางการคมนาคม

การศึกษา ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม

 

การศึกษา

มีสถาบันการศึกษาให้บริการแก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลแม่คำ จำนวน ๔ แห่ง
- โรงเรียนบ้านแม่คำ(ประชานุเคราะห์) ให้บริการด้านการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น (โรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา)
- โรงเรียนวัดแม่คำวิทยา (โรงเรียนสงฆ์)
- โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่คำ (แม่คำสบเปินราษฎร์นุกูล)
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่คำ

 

ศาสนา

มีศาสนาสถานทางพุทธศาสนา จำนวน ๓ แห่ง คือ
- วัดแม่คำสบเปิน หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่คำ
- วัดแม่คำ หมู่ที่ ๒ ตำบลแม่คำ
- วัดโชติการาม หมู่ที่ ๘ ตำบลแม่คำ
ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมพื้นเมืองแบบล้านนา

 

การสาธารณสุข
- มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ตำบลแม่คำให้บริการประชาชน จำนวน ๑ แห่ง
- สถานพยาบาล จำนวน ๓ แห่ง

 

ด้านการเมือง – บริหาร

เทศบาลตำบลแม่คำ เป็นเทศบาลขนาดเล็ก มีสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน ๑๒ คน และมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล การแบ่งส่วนราชการ แบ่งออกเป็น ๕ กอง คือ สำนักปลัดเทศบาล กองคลัง กองการศึกษา กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองช่าง และ ๑ หน่วยตรวจสอบภายใน

ประมาณการรายรับ – รายจ่าย ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
-ประมาณการรายรับ เป็นเงิน ๕๓,๑๔๕,๘๐๐.- บาท
-ประมาณการรายจ่าย เป็นเงิน ๕๓,๑๔๕,๗๘๔.- บาท

 

การดำเนินการพาณิชย์
เทศบาลตำบลแม่คำ มีเขตพื้นที่ชุมชนขนาดเล็กประกอบกับเป็นพื้นที่ตั้งอยู่ใกล้อำเภอแม่จัน ดังนั้น เทศบาลตำบลแม่คำจึงไม่มีการดำเนินการพาณิชย์และสถานที่ตั้งของสถาบันทางการเงิน
บทบาท/การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมทางการเมืองและการบริหาร
เทศบาลตำบลแม่คำ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งประชาชนได้มีส่วนร่วมในรูปกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลแม่คำ โดยทำการรณรงค์การใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ การทำเวทีประชาคมท้องถิ่น และการเข้ารับฟังการประชุมสภา ฯ

 

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สภาวะแวดล้อมในพื้นที่เขตเทศบาล สภาพที่อยู่อาศัยในชุมชนไม่แออัด แต่ละหมู่บ้านจะอยู่ห่างกัน อากาศดีเนื่องจากสภาพสิ่งแวดล้อมอำนวยให้อากาศดี คือ ไม่มีการประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในเขตเทศบาล

 

มลพิษทางน้ำ

ลำน้ำที่ไหลผ่านเทศบาลคือลำน้ำคำ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มาตามธรรมชาติ ซึ่งปริมาณลดลงจากอดีต ลำน้ำตื้นเขินเกิดจากการทับถมของทราย แต่ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยที่ประชาชนทิ้งขยะลงแม่น้ำ ทำให้ขยะเน่าเสียและอุดตันทางน้ำ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น